บริการ 10 คู่สายอัตโนมัติ

042 870 000 บริการ 10 คู่สายอัตโนมัติ

บทความเพื่อสุขภาพ

โรคชิคุนกุนยา

6/8/20, 8:23 AM

โรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เกิดเชื้อไวรัส ซึ้ง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งเด็กเล็ก มีอาการคลายกับโรคไข้เลือดออก แต่ไม่รุนแรงเท่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่อง

อาการเตือนโรคชิคุนกุนยา

  • มีไข้สูง อย่างฉับพลัน
  • มีผื่นแดง ขึ้นตามร่างกายอาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • ปวดกระดูกหรือข้อ เช่น นิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกระบอกตา ตาแดง
  • อ่อนเพลีย หรืออาจท้องเสีย

การติดต่อของโรคชิคุนกุนยา

ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในเมืองใหญ่และชนบท มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือ บริเวณที่มีน้ำขัง เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

การรักษา

รักษาตามอาการของโรค ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง แต่ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคนี้ได้ด้วยการดื่มน้ำเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ เช็ดตัวด้วยน้ำสะอาด เพื่อช่วยลดไข้ รวมถึงรับประทานยาลดไข้และบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น เช่น ยาพาราเซตามอล ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน เป็นต้น ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานยาแอสไพรินลดไข้เป็นอันขาด เนื่องจากจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

การป้องกัน

วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงลายกัด ซึ่งสามารถทำได้โดย

  • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • ใช้ยาไล่เเมลงหรือยาจุดกันยุงที่อาจช่วยป้องกันยุงภายในอาคารได้
  • อยู่ในห้องที่มีประตูและหน้าต่างมุ้งลวด หรือห้องปิดสนิทที่มีเครื่องปรับอากาศ
  • เด็กเล็ก ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่นอนกลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น แหล่งน้ำขังตามธรรมชาติ ภาชนะที่มีน้ำขัง เป็นต้น

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อายุรกรรม

นัดหมายแพทย์

ติดต่อสอบถาม


แพ็กเกจคลอดคุณภาพ